ทฤษฎีบุคลิกภาพของ
คาร์เรน ฮอร์นาย (Karen Horney)
แนวความคิดของ คาร์เรน
ฮอร์นาย (Karen
Horney) (1885 – 1952) เป็นนักทฤษฎีที่มองปัญหาของมนุษย์อย่างมีความหวังและเชื่อว่ามนุษย์เป็นนายในการจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆในชีวิตของตนมิใช่เป็นทาสของปัญหา
ฮอร์นายมีความเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมทางสังคมมีบทบาทต่อการพัฒนาบุคลิกภาพมากกว่าปัจจัยโน้มเอียงภายใน
สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดความวิตกกังวลขึ้น พื้นฐานของความวิตกกังวลเกิดจากการที่เด็กรู้สึกว่าไม่ได้รับความมั่นคงและปลอดภัยจากผู้เป็นพ่อแม่
เด็กจึงใช้กลไกป้องกันตนเองแบบต่างๆเพื่อลดความวิตกกังวล
วิธีใดที่ได้ผลก็จะใช้บ่อยๆ
วิธีที่ไม่ได้ผลก็จะเลิกใช้บางคนก็จะหาวิธีการลดความวิตกกังวลลง
ไม่ได้ทำให้มีภาพพจน์เกี่ยวกับตนเองผิดไปและสร้างความต้องการต่างๆเพื่อลดความวิตกกังวลที่เรียกว่า
ความต้องการทางประสาท (Neurotic Needs) นักจิตวิเคราะห์ คาร์เรน ฮอร์นาย
ได้อธิบายว่ามนุษย์มีความต้องการดังนี้
1.ความต้องการใฝ่สัมพันธ์และการยอมรับยกย่อง
ความต้องการที่ไม่แยกแยะ การที่ทำให้ผู้อื่นพอใจและให้เขายอมรับตนเอง (affection
and approval)
2.ความต้องการคู่
และต้องการให้มีผู้ที่ดูแลคุ้มครองตนเอง ต้องการความรัก (partner)
3.ความต้องการจำกัดตนเองในวงแคบ
ให้มีคนคอยสั่ง (restrict one's life to narrow borders)
4.ความต้องการอำนาจ
ที่จะควบคุมผู้อื่น ( need for power, for control over others)
5.ความต้องการมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น
( to exploit others and get the better of them)
6.ความต้องการการยอมรับทางสังคม
ความภาคภูมิใจ (social recognition or prestige)
7.ความต้องการได้รับการชื่นชมโดยส่วนตัว
ต้องการเป็นคนสำคัญ มีค่า (personal admiration)
8.ความต้องการความสำเร็จ
ต้องการเป็นที่ 1 (personal achievement.)
9.ความต้องการความเป็นอิสระ
(self-sufficiency and independence)
10.ความต้องการความสมบูรณ์สุด
(perfection and unassailability)
มนุษย์มีความต้องการแบบนี้ทั้งสิ้น สำหรับคนที่มีสุขภาพจิตดีนั้นจะมีความต้องการน้อยกว่าคนที่มีสุขภาพจิตเสื่อม
เพราะคนปกติสามารถแก้ข้อขัดแย้งต่างๆที่เกิดจากความต้องการเหล่านี้ได้ดีกว่า
ความต้องการทางประสาทมีการพัฒนามาตั้งแต่เด็กๆ
ดังนั้นฮอร์นายจึงเน้นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่มีต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์
เธอเสนอว่ามนุษย์แบ่งออกได้เป็นสามประเภท
ตามพื้นฐานของความวิตกกังวลและอาการทางจิตประสาทของมนุษย์ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่มดังนี้
1.การเข้าหาคน
(พวกยอมคน) Compliance ได้แก่ ความต้องการที่ 1 ,2 และ 3
2.การพุ่งเข้าใส่คน
(พวกก้าวร้าว) Aggression ได้แก่ ความต้องการที่ 4-8
3.การหลีกหนีคน
(พวกใจลอย) Withdrawal ได้แก่ ความต้องการที่ 9,10 และ 3
ผลงานวิจัยของฮอร์นายพบว่า ไทป์ย่อยในกลุ่มต่าง ๆ เช่น
กลุ่มก้าวร้าว
มีคนอยู่สามประเภทคือ
- คนหลงตัวเอง
- มนุษย์สมบูรณ์แบบ
- คนจองหอง
กลุ่มใจลอย
แบ่งกลุ่มย่อย คือ
- กลุ่มบุคลิก
ชอบถอนตัว
- ชอบต่อต้าน
กลุ่มยอมคน
แบ่งย่อยออกเป็น 3 กลุ่มย่อยอีกคือ
- พวกรักสนุก
- พวกทะยานอยาก
- พวกปรับตัว
อ้างอิง :
การนำหลักจิตวิทยามาอธิบายวรรณกรรม.(ออนไลน์).สืบค้นจาก
: http://memymy.exteen.com/page/2 (Jan 28, 2016)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น