วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

11.แนวความคิดตามทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม

ทฤษฏีพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory)

                เป็นกลุ่มทฤษฏีที่มีนักพฤติกรรมนิยมได้ศึกษาอย่างกว้างขวาง เช่น พาฟลอฟ (Pavlov) , จอห์น วัตสัน (John B. Watson) , ธอร์นไดค์(Thorndike ), สกินเนอร์ (Skinner) และโวลเป้ (Wolpe) เป็นต้น นักทฤษฏีกลุ่มนี้ไม่เห็นด้วยกับการใช้วิธีตรวจสอบตนของกลุ่มโครงสร้างจิตที่ยังมาสามารถพิสูจน์ทดลองในเชิงวิทยาศาสตร์ได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้กลุ่มคนยังมีอคติในการรายงานความรู้สึกของตนเอง กลุ่มนี้ได้มีการใช้ทฤษฏีการเรียนรู้ควบคู่ไปด้วย เพื่ออธิบายพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงและพยากรณ์พฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้ แนวคิดนี้มีความเชื่อว่า พฤติกรรมทุกพฤติกรรมเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ จากสิ่งแวดล้อม และสาเหตุดังกล่าวนั้นอยู่ในรูปของสิ่งเร้า (Stimulus : S) อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่มากระตุ้นอินทรีย์ (Organism ) ทำให้อินทรีย์แสดงการตอบสนอง (Response : R ) ออกมา การค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่มีคุณสมบัติแน่นอนกับการตอบสนองที่เกิดขึ้นจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและอธิบายถึงกะบวนการทางจิตวิทยาและพฤติกรรมของมนุษย์ที่ซับซ้อนได้ วิธีการที่ใช้ศึกษาคือวิธีการทดลอง
นักทฤษฏีในกลุ่มพฤติกรรมนิยมได้อธิบายแนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยมไว้ 3 ประการ ดังนี้

     1.การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)
การเรียนรู้จะเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขของสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นมากกว่าผลกรรมของพฤติกรรม การศึกษาในด้านนี้ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาของพาฟลอฟ (Pavlov)  Classical Conditioning เป็นเงื่อนไขที่เกิดขึ้นโดยปราศจากแรงเสริม
พาฟลอฟได้ทำการทดลองกับสุนัขโดยใส่อาหารจากปากสุนัขและวัดปริมาณของน้ำลายจากท่อที่ใส่เข้าไปในท่อน้ำลาย พาฟลอฟพบว่าตัวกระตุ้นที่นำไปสัมพันธ์กับการให้อาหารสุนัขจะทำให้น้ำลายไหล ถ้าหากต่อมาให้แต่ตัวกระตุ้นเพียงลำพังก็ตาม
อาหารเป็นสิ่งเร้าปราศจากเงื่อนไข (Unconditioned stimulus ; UCS ) ซึ่งกระตุ้นให้สุนัขน้ำลายไหล (Unconditioned response ; UCR) ต่อมาพาฟลอฟจะสั่นกระดิ่งก่อนให้อาหารเล็กน้อย เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้ามีเงื่อนไข (Conditioned stimulus ; CS ) สุนัขก็น้ำลายไหลทุกครั้ง ต่อมาสั่นกระดิ่งอีกแต่ไม่ให้อาหาร สุนัขก็ยังคงน้ำลายไหล (Conditioned response ; CR)
แนวทางการบาบัดรักษา
การบำบัดรักษาตามแนวคิดของพฤติกรรมนิยม การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ใช้หลักการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข โดยการนำสิ่งเร้า 2 อย่างมาจับคู่กัน เพื่อให้เกิดพฤติกรรมใหม่ที่เหมาะสมใช้รักษาเด็กที่มีปัญหาปัสสาวะรดที่นอน

     2.การให้แรงเสริม (Reinforcement)
พัฒนาโดย B.F. Skinner ตามหลักของ Operant Conditioning การให้ Positive reinforcement การให้ Negative reinforcement การให้สิ่งเร้าที่ไม่พึงปรารถนาหรือลดสิ่งเร้าที่ต้องการ เพื่อให้งดพฤติกรรมไม่เหมาะสม
การบำบัดรักษาตามแนวคิดของสกินเนอร์
สกินเนอร์เป็นพฤติกรรมศาสตร์อีกผู้หนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย สกินเนอร์ได้ใช้หลักการเรียนรู้แบบลงมือทำ (operant conditioning) คือการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำพฤติกรรมแล้วจะได้รางวัล ซึ่งรางวัลเป็นผลให้ผู้เรียนกระทำพฤติกรรมนั้นๆอีก
สกินเนอร์ได้ใช้หลักการเรียนรู้ดังกล่าว แล้วมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยจิตเวชโดยใช้วิธีการดังนี้
1.การใช้แรงเสริมบวก (Positive reinforcement )  คือ การเพิ่มความถี่ของพฤติกรรมโดยการให้แรงเสริมบวกเพื่อให้แสดงพฤติกรรมที่ต้องการ เป็นการลดพฤติกกรมที่เป็นปัญหา เพื่อให้แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมที่ต้องการ เช่น การให้เบี้ยอัตถากรไปแลกของที่อยากได้(Token economy)
2.การให้แรงเสริมลบ (Negative reinforcement )  คือ การให้สิ่งที่ไม่พึงปรารถนาหรือการงดสิ่งเร้าที่พึงพอใจเมื่อเกิดพฤติกรรมที่มีปัญหา
3.การปรุงแต่งพฤติกรรม (shaping technique) คือ การแต่งพฤติกรรมจากพฤติกรรมง่ายๆไปสู่พฤติกรรมที่ซับซ้อนและการปรุงแต่งจะต้องค่อยเป็นค่อยไปที่ละขั้น

       3. Systematic desensitization (การลดความวิตกกังวลอย่างเป็นระบบ)
การบำบัดรักษาตามแนวของโวลเป้ (Wolpe)  โวลเป้ได้ให้ความหมายของพฤติกรรมแปรปรวนว่าเป็นการเรียนรู้เพื่อตอบสนองต่อภาวะวิตกกังวลและพฤติกรรมที่แสดงออกนั้นแม้จะดูแปลกต่อสายตาของผู้อื่นก็ตามแต่บุคคลสามารถลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นนั้นได้ โวลเป้ได้เสนอแนะวิธีการรักษาโดยเสนอวิธีการตอบสนอง ซึ่งจะลดภาวะวิตกกังวลเสียใหม่ด้วยวิธีการผ่อนคลาย โดยที่โวลเป้เชื่อว่าการผ่อนคลายเป็นภาวการณ์ซึ่งตรงกันข้ามกับความวิตกกังวล ดังนั้น ควรจะลดความวิตกกังวลได้
       การลดความวิตกกังวลอย่างเป็นระบบ(Systematic desensitization) ประกอบด้วยวิธีการ 3 แบบ คือ
1.การจัดลำดับความวิตกกังวลจากมากไปหาน้อย
2.การฝึกการผ่อนคลาย
3.การจับคู่ระหว่างสิ่งที่ทำให้เกิดความผ่อนคลายกับสภาวะที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล เช่น คนที่กลัวความตาย อาจค่อยๆเรียนรู้ที่จะเผชิญกับภาวะวิตกกังวลจากความตาย โดยการไปงานศพและค่อยๆฝึกผ่อนคลายเพื่อให้อยู่ในสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งผู้ป่วยจะค่อยๆปรับได้ ความวิตกกังวลจะลดลง
การฝึกการแสดงออกถึงความรู้สึกที่ควรแสดงออกในสังคมโดยไม่วิตกกังวล เช่น การยืดการแสดงออกต่อบุคคลอื่นๆในขณะที่มีสิ่งเร้าทำให้บุคคลโกรธ การแสดงออกเมื่อเราโกรธและไม่พอใจจะเป็นการแสดงออกที่รุนแรงซึ่งไม่เป็นผลดีหรือไม่เหมาะสม การฝึกการแสดงออกที่เหมาะสมต่อสิ่งเร้าที่บุคคลไม่พอใจโดยการผ่อนคลายจะช่วยให้การแสดงออกลดความรุนแรงลง ซึ่งฝึกได้
โวลเป้ใช้วิธีการนี้โดยให้ผู้ป่วยกับผู้รักษาผลักกันเล่นบทบาท ให้ผู้ป่วยดูจุดบกพร่องของการแสดงบทบาทนั้นๆ โดยผู้รักษาแสดงบทบาทของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะเห็นว่าพฤติกรรมส่วนใดของตนซึงควรได้รับการแก้ไขและนำไปฝีกหัด เป็นต้น


อ้างอิง  

บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช.(ออนไลน์).สืบค้นจาก :  www.teacher.ssru.ac.th/thitavan_ho/.../2.DR_THitavan.ssru.ac.th.pdf (Jan 28, 2016)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น