ทฤษฎีความต้องการ
(Need
Theories)
ของ
อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow)
ทฤษฎีลำดับความต้องการ
(Hierachy
of Needs Theory) เป็นทฤษฎีที่พัฒนาขึ้นโดย อับราฮัม มาสโลว์ (Abrahum
Maslow) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแบรนดีส์ เป็นทฤษฎีที่รู้จักกัน
มากที่สุด ทฤษฎีหนึ่ง ซึ่งระบุว่า
บุคคลมีความต้องการเรียงลำดับจากระดับพื้นฐานที่สุดไปยังระดับสูงสุด
กรอบความคิดที่สำคัญ ของทฤษฎีนี้ มีสามประการ คือ
1.บุคคลเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความต้องการ
ความต้องการมีอิทธิพลหรือเป็นเหตุจูงใจต่อพฤติกรรม ความต้องการที่ยังไม่ได้รับ
การสนองตอบเท่านั้นที่เป็นเหตุจูงใจ
ส่วนความต้องการที่ได้รับการสนองตอบแล้วจะไม่เป็นเหตุจูงใจอีกต่อไป
2.ความต้องการของบุคคลเป็นลำดับชั้นเรียงตามความสำคัญจาก
ความต้องการพื้นฐาน ไปจนถึงความต้องการที่ซับซ้อน
3.เมื่อความต้องการลำดับต่ำได้รับการสนอบตอบอย่างดีแล้ว
บุคคลจะก้าวไปสู่ความต้องการลำดับที่สูงขึ้นต่อไป
มาสโลว์
เห็นว่าความต้องการของบุคคลมี 5 กลุ่ม จัดแบ่งได้เป็น 5
ระดับ จากระดับต่ำไปสูง เพื่อความเข้าใจ
มักจะแสดงลำดับของความต้องการเหล่านี้ โดยภาพ ดังนี้
ภาพ
แสดงลำดับความต้องการของมนุษย์ตามแนวคิดของมาสโลว์
ความต้องการทางร่างกาย (Physiological
Needs)
เป็นความต้องการลำดับต่ำสุดและเป็นพื้นฐานของชีวิต
เป็นแรงผลักดันทางชีวภาพ เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ ที่อยู่อาศัย
หากพนักงานมีรายได้จากการปฏิบัติงานเพียงพอ ก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยมีอาหารและที่พักอาศัย
เขาจะมีกำลังที่จะทำงาน ต่อไป และการมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม เช่น
ความสะอาด ความสว่าง การระบายอากาศที่ดี การบริการสุขภาพ
เป็นการสนองความต้องการในลำดับนี้ได้
ความต้องการความปลอดภัย (Safety
Needs)
เป็นความต้องการที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่ความต้องการทางร่างกายได้รับการตอบสนองอย่างไม่ขาดแคลนแล้ว
หมายถึง ความต้องการ สภาพแวดล้อมที่ปลอดจากอันตรายทั้งทางกายและจิตใจ
ความมั่นคงในงาน ในชีวิตและสุขภาพ การสนองความต้องการนี้ ต่อพนักงาน
ทำได้หลายอย่าง เช่น การประกันชีวิตและสุขภาพ กฎระเบียบข้อบังคับที่ยุติธรรม
การให้มีสหภาพแรงงาน ความปลอดภัยใน การปฏิบัติงาน เป็นต้น
ความต้องการทางสังคม (Social
Needs)
เมื่อมีความปลอดภัยในชีวิตและมั่นคงในการงานแล้ว
คนเราจะต้องการความรัก มิตรภาพ ความใกล้ชิดผูกพัน ต้องการเพื่อน
การมีโอกาสเข้าสมาคมสังสรรค์กับผู้อื่น ได้รับการยอมรับเป็นสมาชิกในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่ม
ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง (Esteem
Needs)
เมื่อความต้องการทางสังคมได้รับการตอบสนองแล้ว
คนเราจะต้องการสร้างสถานภาพของตัวเองให้สูงเด่น มีความภูมิใจและสร้าง
การนับถือตนเอง ชื่นชมในความสำเร็จของงานที่ทำ ความรู้สึกมั่นใจในตัวเองแลเกียรติยศ
ความต้องการเหล่านี้ได้แก่ ยศ ตำแหน่ง ระดับเงินเดือนที่สูง งานที่ท้าทาย
ได้รับการยกย่องจากผู้อื่น มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในงาน
โอกาสแห่งความก้าวหน้าในงานอาชีพ เป็นต้น
ความต้องการเติมความสมบูรณ์ให้ชีวิต (Self-actualization
Needs)
เป็นความต้องการระดับสูงสุด
คือต้องการจะเติมเต็มศักยภาพของตนเอง
ต้องการความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาสูงสุดของตัวเอง ความเจริญก้าวหน้า
การพัฒนาทักษะความสามารถให้ถึงขึดสุดยอด
มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจและการคิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
การก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นในอาชีพและการงาน เป็นต้น
มาสโลว์แบ่งความต้องการเหล่านี้ออกเป็นสองกลุ่ม
คือ ความต้องการที่เกิดจากความขาดแคลน (deficiency needs) เป็นความต้องการระดับต่ำ ได้แก่ ความต้องการทางกายและความต้องการความปลอดภัย
อีกกลุ่มหนึ่งเป็น ความต้องการก้าวหน้า และพัฒนาตนเอง (growth needs) ได้แก่ ความต้องการทางสังคม เกียรติยศชื่อเสียง
และความต้องการเติมความสมบูรณ์ให้ชีวิต จัดเป็นความต้องการระดับสูง และอธิบายว่า
ความต้องการระดับต่ำจะได้รับการสนองตอบจากปัจจัยภายนอกตัวบุคคล
ส่วนความต้องการระดับสูง จะได้รับการสนองตอบ จากปัจจัยภายในตัวบุคคลเอง
ตามทฤษฎีของมาสโลว์ ความต้องการที่รับการตอบสนองอย่างดีแล้ว
จะไม่สามารถเป็นเงื่อนไขจูงใจบุคคลได้อีกต่อไป แม้ผลวิจัย ในเวลาต่อมา
ไม่สนับสนุนแนวคิดทั้งหมดของมาสโลว์ แต่ทฤษฎีลำดับความต้องการของเขา ก็เป็นทฤษฎีที่เป็นพื้นฐาน
ในการอธิบายองค์ประกอบของ แรงจูงใจ ซึ่งมีการพัฒนาในระยะหลังๆ
อ้างอิง :
ทฤษฎีความต้องการ (Need
Theories).(ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/Need_Theories.html
(Jan 28, 2016)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น