วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

9.แนวความคิดตามทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์ ของ Eric Berne

ทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์  (Transactional Analysis หรือ TA)
ของอีริค เบิร์น (Eric Berne)



ผู้นำคือ อีริค เบิร์น (Eric Berne)   อีริค เบิร์นกล่าวว่าพฤติกรรมของบุคคลจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์และเวลา เช่นเมื่อประสบความสำเร็จก็จะดีใจผิดหวังก็จะแสดงความเสียใจ มีเนื้อหาสำคัญดังนี้
       1.โครงสร้างบุคลิกภาพ ในบุคคลหนึ่งจะมีภาวะต่างๆอยู่ในตน 3 ภาวะ คือ
1.1.พฤติกรรมแบบพ่อแม่ (Parent Ego State)  หรือ P เกิดจากการหล่อหลอมเลียนแบบเอาอย่างบิดามารดาหรือญาติพี่น้องที่อบรมเลี้ยงดู แบ่งย่อยเป็น 2 แบบ

          1.)พ่อแม่ที่ชอบควบคุม วิพากษ์วิจารณ์ (Controlling/CriticalParent : CP) ชอบควบคุมความประพฤติ กำหนดขอบเขตวิถีชีวิตของตัวเองและผู้อื่น 
          2.) พ่อแม่ดูแลเอาใจใส่ ช่วยเหลือปกป้อง (Nurturing Parent : NP) มีทัศนะต่อผู้อื่นว่า คนอื่นมีศักยภาพในตัวเอง แต่อาจต้องการผู้ช่วยเหลือมีนิสัยใจคอดี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

1.2. บุคลิกภาพแบบผู้ใหญ่ (Adult Ego State) หรือ A เกิดจากการพัฒนาทางสมองประสบการณ์ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในภายหลัง ทำให้เกิดสติปัญญาความคิด หลักการ เหตุผลในการตัดสินใจชอบช่วยเหลือการประเมินทางเลือกจะพิจารณาจากข้อเท็จจริง ข้อมูลที่มีอยู่จริงเป็นคนที่ไม่มีอารมณ์เข้ามาแทรกแซงเป็นนักวิชาการ นักคิดคำนวณ และมุ่งความสนใจไปยังสิ่งที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับสถานการณ์ สนใจความคิดเห็นของผู้อื่น เปิดใจกว้างรับฟังผู้อื่น ไม่เครียดเกร็ง
1.3. บุคลิกภาพแบบเด็ก (Child Ego State) หรือ C เป็นส่วนที่เคยแสดงออกหรือรู้สึกตั้งแต่ยังเด็กเล็กอยู่ ซึ่งเกิดจากธรรมชาติที่ติดตัวมา มี 2 ลักษณะคือ

          1.) เด็กอิสระ (Free Child : FC) อยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกรักธรรมชาติ จริงใจ ไม่ปิดบังอารมณ์หัวเราะ/ร้องไห้เสียงดังโดยไม่อายรู้สึกอย่างไรจะแสดงออกอย่างนั้นไม่เสแสร้ง มีความเป็นตัวของตัวเองมองโลกในแง่ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไว้ใจผู้อื่นเสมอ
          2.) เด็กปรับตัว-จำยอม (Adapted Child : AC) จะชอบยอมทำตาม ไม่กล้าขัดใจคนอื่น ไม่รู้จักปฏิเสธ ขาดความเป็นตัวของตัวเอง เป็นลูกแหง่อดทนเพื่อไม่ให้ผู้ใหญ่ตำหนิว่ากล่าว ชอบก้มหน้าไม่กล้าสบตาชอบพยักหน้าหลายครั้ง พูดเสียงเบา หรือบางครั้งอาจจะไม่ชอบทำตามผู้อื่น แต่ก็ไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ มักแสดงอาการหงุดหงิดต่อต้าน ดื้อดึง พูดจาประชดประชันท้าทาย ประท้วง ชอบนินทา อิจฉาริษยา หวาดระแวง ไม่ไว้ใจใคร 

       2. การติดต่อสื่อสารของบุคคล หมายถึง การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 คน ในการสื่อสารจะมี 2 ระดับ คือระดับที่เปิดเผย เป็นการสื่อสารที่พูดออกมาตรงๆ แต่ข่าวสารที่สองจะถูกส่งออกมาในลักษณะที่ปกปิด
1.)การติดต่อสื่อสารที่สอดคล้อง(Complementary transaction) 
2.)การติดต่อสื่อสารที่ขัดแย้ง(Crossed transaction) 
3.)การติดต่อสื่อสารที่เคลือบแฝง(Ulterior transaction) 
       3. พฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อผู้อื่น มี 5 ลักษณะ
1.) พฤติกรรมที่ส่งผลทางบวกเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างจริงใจสุภาพ อ่อนโยน ยกย่องให้เกียรติเคารพ เห็นอกเห็นใจ เข้าใจ ให้อภัย
2.) พฤติกรรมที่ส่งผลทางลบเป็นพฤติกรรมที่ไม่สุภาพ กระด้างดุด่า ตำหนิติเตียน เย้ยหยัน ดูหมิ่นเหยียดหยาม ทำให้ผู้อื่นไม่พอใจอับอาย โกรธ หมดกำลังใจ
3.) พฤติกรรมที่มีเงื่อนไข เป็นพฤติกรรมทั้งทางบวกและทางลบ เป็นคำพูดที่มีเงื่อนไขเช่น ฉันจะให้โบนัสคุณ 2เดือนถ้าคุณทำยอดขายได้ 2 เท่าของปีที่แล้ว
4.) พฤติกรรมหลอกลวง ไม่มีความจริงใจ แกล้งสรรเสริญเยินยอม
5.) พฤติกรรมที่เป็นพิธีการ เป็นการกระทำเพื่อมารยาทหรือทำตามกฎเกณฑ์ของสังคม เช่นการไหว้ การจับมือ การทักทายปราศรัย การกล่าวต้อนรับ
       4. ทัศนคติต่อตนเองและผู้อื่น  ทัศนคติต่อตนเองและผู้อื่นจะเปลี่ยนไปตามสถานการณ์Harris Thomas กล่าวว่า บุคคลมีทัศนคติต่อตนเองและผู้อื่นแบบใดแบบหนึ่งใน 4 แบบ 
1.) ฉันเลวแต่คุณดี (I’m not OK,You’re OK) ต้องการกำลังใจ ต้องการการเอาใจใส่จากผู้บังคับบัญชา 
2.) ฉันดีแต่คุณเลว (I’m OK,You’re not OK) ตนเองดีมีคุณค่า มองคนอื่นว่าเลว ชอบตำหนิคนอื่น ชอบซัดโทษ ผู้อื่น ยกตนข่มท่าน
3.) ฉันเลวคุณก็เลวด้วย (I’m not OK,You’re not OK) ตนเองไม่มีคุณค่า คนอื่นก็ไม่มีคุณค่ามองโลกในแง่ร้าย หมดหวังในชีวิตไม่มีจุดมุ่งหมายในชีวิตผู้ป่วยโรคจิตโรคประสาท
4.)ฉันดีเธอก็ดีด้วย (I’m OK,You’re OK) มีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ มองตนเองผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมในแง่ดี ชีวิตมีความสุข



อ้างอิง 

ทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์ (Transactional Analysis) หรือ TA.(2553).(ออนไลน์).สืบค้นจาก :  http://childhood281.blogspot.com/2010/01/transactional-analysis-ta.html (Jan 28, 2016)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น