วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

6.แนวความคิดตามทฤษฎีตัวตน ของ Carl Roger

ทฤษฎีตัวตน  (Self Theory)
ของ คาร์ล โรเจอร์ (Carl Rogers)



คาร์ล โรเจอร์ (Carl Rogers)  เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1902 เกิดที่เมืองโอ็กปาร์ค (Ork Park) รัฐอิลินอยส์ (Illinois) ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามาจากครอบครัวที่อบอุ่นมีความรักใคร่และใกล้ชิดกันระหว่างพ่อแม่พี่น้อง
โรเจอร์ได้ชื่อว่า เป็นนักจิตวิทยามานุษยนิยมที่สำคัญ และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายอีกท่านหนึ่ง เขาได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้ที่ยกระดับวิชาชีพจิตวิทยาให้ได้รับการยอมรับและเชื่อถือจากมหาชน โดยพิสูจน์ให้เห็นประจักษ์ว่า นักจิตวิทยาที่รู้จริง ปฏิบัติจริง ย่อมเป็นผู้ที่มี ความสุข และ ความสำเร็จในชีวิต ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่จะช่วยเหลือผู้ที่มี ความทุกข์ร้อนทางด้านจิตใจ และมีปัญหาทางบุคลิกภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ได้เคยรู้จักกับโรเจอร์ ต่างก็ยกย่องว่า โรเจอร์ว่า เขาเป็นผู้ที่มีจิตใจเต็มเปี่ยมไปด้วย ความรัก ความเมตตา ต่อเพื่อนมนุษย์ทุกคนอย่างบริสุทธิ์ใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับบุคคลที่ตกอยู่ในห้วงแห่ง ความทุกข์โศก ความสับสนและ ความเดือดเนื้อร้อนใจ ไม่ว่าเด็กและผู้ใหญ่ แม้เพียงได้อยู่ใกล้ๆ ก็ทำให้เขาเหล่านั้น มี ความสบายใจและอบอุ่นใจได้เสมอ ทั้งนี้ เพราะเห็นพลัง ความรักและ ความปรารถนาที่มีต่อเพื่อนมนุษย์และ ความเชื่อของเขาที่มีอยู่ในจิตสำนึกว่า ความทุกข์ของมนุษย์ย่อมมีหนทางแก้ไขได้เสมอ
คาร์ล โรเจอร์ (Carl Rogers) มีความเห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์เป็นสิ่งที่ดีและมีความสำคัญมาก โดยมีความพยายามที่จะพัฒนาร่างกายให้มีความเจริญเติบโตอย่างมีศักยภาพสูงสุด โรเจอร์ ตั้งทฤษฏีขึ้นมาจากการศึกษาปัญหาพฤติกรรมของคนไข้จากคลินิกการรักษาคนไข้ของเขา และได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่เกิดจากสุขภาพเป็นอย่างมาก ทฤษฏีของโรเจอร์เน้นถึงเกียรติของบุคคล ซึ่งบุคคลมีความสามารถที่จะทำการปรับปรุงชีวิตของตนเองเมื่อมีโอกาสเข้ามิใช่จะเป็นเพียงแต่เหยื่อในขณะที่มีประสบการณ์ในสมัยที่เป็นเด็ก หรือจากแรงขับของจิตใต้สำนึก แต่ละบุคคลจะรู้จักการสังเกตสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา โดยมีแนวทางเฉพาะของบุคคล กล่าวได้ว่า เป็นการับรู้สภาพสิ่งแวดล้อมซึ่งมีความสำคัญมาก
โรเจอร์ เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีตัวตน 3 แบบ
1.ตนที่ตนมองเห็น (Self Concept) ภาพที่ตนเห็นเองว่าตนเป็นอย่างไร มีความรู้ความสามารถ ลักษณะเพราะตนอย่างไร เช่น สวย รวย เก่ง ต่ำต้อย ขี้อาย ช่างพูด เก็บตัว เงียบ เป็นต้น การมองเห็นอาจจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงหรือภาพที่คนอื่นเห็น
2.ตนตามที่เป็นจริง (Real Self) ตัวตนตามข้อเท็จจริง แต่บ่อยครั้งที่ตนมองไม่เห็นข้อเท็จจริง เพราะอาจเป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกเสียใจ ไม่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น เป็นต้น
3.ตนตามอุดมคติ (Ideal Self) ตัวตนที่อยากมีอยากเป็น แต่ยังไม่มีไม่เป็นในสภาวะปัจจุบัน เช่น ชอบเก็บตัว แต่อยากเก่งเข้าสังคม เป็นต้น
ถ้าตัวตนทั้ง 3 ลักษณะ ค่อนข้างตรงกันมาก จะทำให้มีบุคลิกภาพมั่นคง แต่ถ้าแตกต่างกันสูง จะมีความสับสนและอ่อนแอด้านบุคลิกภาพ
โรเจอร์วางหลักไว้ว่า บุคคลถูกกระตุ้นโดยความต้องการสำหรับการยอมรับนับถือทางบวก นั่นคือความต้องการความรัก การยอมรับและความมีคุณค่า บุคคลเกิดมาพร้อมกับความต้องการการยอมรับนับถือในทางบวก และจะได้รับการยอมรับนับถือ โดยอาศัยการศึกษาจากการดำเนินชีวิตตามมาตรฐานของบุคคลอื่น
ทฤษฏีของโรเจอร์กล่าวว่า ตนเอง” (Self) คือการรวมกันของรูปแบบค่านิยม เจตคติการรับรู้และความรู้สึก ซึ่งแต่ละบุคคลมีอยู่และเชื่อว่าเป็นลักษณะเฉพาะของเขาเอง ตนเองหมายถึงฉันและตัวฉัน เป็นศูนย์กลางที่รวมประสบการณ์ทั้งหมดของแต่ละบุคคล ภาพพจน์นี้เกิดจากการที่แต่ละบุคคลมีการเรียนรู้ตั้งแต่วัยเริ่มแรกชีวิต ภาพพจน์นั่นเองสำหรับบุคคลที่มีการปรับตัวดีก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างคงที่และมีการปรับตัวตามประสบการณ์ที่แต่ละคนมีอยู่


อ้างอิง  :  
kru-songsak.(2554). (ออนไลน์).สืบค้นจาก :  http://kru-songsak.blogspot.com/2011/07/blog-post.html (Jan 28, 2016)

บ้านจอมยุทธ.ทฤษฎีบุคลิกภาพ แบบมนุษยนิยม (Humanist Personality Theory).( 2543). (ออนไลน์).สืบค้นจาก :  http://www.baanjomyut.com/library/personality/08.html  (Jan 28, 2016)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น