วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

2.แนวความคิดตามทฤษฎีพัฒนาการบุคลิกภาพของ Erik Erikson

ทฤษฏีจิตสังคม (Psychosocial theory)
ของอิริค อิริคสัน (Erik Erikson)


อิริค อิริคสัน (Erik Erikson)  เป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฏีขึ้นในแนวคิดของฟรอยด์ แต่ได้เน้นความสำคัญของทางด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ (Psycsological Environment) ว่ามีบทบาทในการพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอิริคสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่าเห็นความสำคัญของEgo มากว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั้งวาระสุดท้ายของชีวิต ด้วยเหตุที่อิริคสันเน้นกระบวนการทางสังคมว่าเป็นจุดกระตุ้นหล่อหลอมบุคลิกภาพ เขาจึงได้เรียกทฤษฎีของเขาว่า เป็นทฤษฏีจิตสังคมของ (Psychosocial theory) ที่อิริคสันเน้นว่า ลักษณะสัมพันธภาพที่บุคคลมีกับบุคคลต่างๆ เช่น พ่อแม่ เพื่อน สามีภรรยา และความขัดแย้งทางสังคมจิตใจ (Psychosocial Crises) ซึ่งความขัดแย้งนี้เกิดจากความสัมพันธ์ที่คนมีกับบุคคลที่เป็นศูนย์กลาง ความผูกพัน ถ้าบุคคลสามารถแก้ไขภาวะวิกฤติและความขัดแย้งได้ด้วยดีพอสมควร ก็ทำให้เกิดลักษณะบุคลิกภาพที่พึงประสงค์เรื่อยไปตามลำดับขั้น ซึ่งส่งผลคือ มีโครงสร้างบุคลิกภาพที่มั่นคง  อิริคสันได้จำแนกพัฒนาการทางบุคลิกภาพของมนุษย์ไว้    8  ขั้นตอน ดังนี้  
              ขั้นที่ 1  การสร้างความรู้สึกไว้วางทางใจ  หรือความไม่ไว้วางใจ ( Trust VS Mistrust )  ช่วงอายุแรกเกิดถึง  1 ขวบ  ถ้าเด็กได้รับอาหาร  น้ำ  ความรัก   ความเอาใจใส่  และความใกล้ชิดจากมารดาหรือพี่เลี้ยงเป็นอย่างดี  เด็กจะเกิดความรู้สึกไว้วางใจและความอบอุ่นมั่นคง  ในทางตรงข้ามถ้าถูกทอดทิ้งและมิได้ความรักจะเกิดความรู้สึกไม่ไว้วางใจใครในวัยเด็ก  จะเกี่ยวข้องกับผู้ใกล้ชิด  ได้แก่  บิดา  มารดา  และหรือพี่เลี้ยงเป็นส่วนใหญ่ 
                ขั้นที่ 2   ความเป็นตัวของตัวเอง หรือความสงสัย ( Autonomy  VS Doubt)   ในช่วง ควบปีที่ 2
วัยนี้เด็กจะแสดงออกให้เห็นว่าตนเองมีความสามารถ  มีความเป็นตัวของตัวเอง  ในทางตรงข้าม  ถ้าเด็กมิได้รับความสำเร็จหรือความพอใจ เด็กจะเกิดความอายและกลัวการแสดงออก  ในวัยเด็กจะเกี่ยวข้องกับบิดามารดา  และหรือพี่เลี้ยงมาก  
                ขั้นที่ 3  การสร้างความคิดริเริ่ม  หรือความสำนึกผิด ( Initiative VS Guilt ) ช่วง 3 ถึง 5 ขวบ วัยนี้เด็กจะเลียนแบบสมาชิกในครอบครัว  ทดลองสิ่งใหม่ๆ  ถ้าทดลองแล้วผิดพลาด  เด็กจะเกิดความขยาดและหวาดกลัว  ในวัยนี้เด็กจะเกี่ยวข้องกับสมาชิกในครอบครัวและเด็กๆ  นอกบ้าน 
                ขั้นที่ 4   การสร้างความรู้สึกรับผิดชอบ  หรือความรู้สึกปมด้อย ( Industry VS Interiority ) ในช่วง 6- 11ขวบ  วัยนี้เด็กจะเริ่มเกี่ยวข้องกับสังคมมากขึ้นตามลำดับ  จะขยันเรียน  ขยันอ่านหนังสือประเภทต่างๆ  พูดคุยและอวดโชว์ความเด่น และความสามารถของตนเพื่อให้เพื่อนยอมรับ  ถ้าเด็กทำไม่ได้เขาจะผิดหวัง  และมีความรู้สึกเป็นปมด้อย  
                ขั้นที่ 5   การสร้างบุคลิกภาพของตน  หรือความไม่เข้าใจตนเอง (Identity VS Identity Diffusion )  ช่วงอายุ  13-18  ปี  วัยนี้เด็กจะสร้างเอกลักษณ์หรือบุคคลิกภาพของตน  โดยเลียนแบบจากเพื่อนๆ  หรือผู้ใกล้ชิด  ถ้ายังสร้างเอกลักษณ์ของตนไม่ได้จะเกิดความว้าวุ่น ว้าเหว่  และหมดหวัง 
                ขั้นที่ 6  การสร้างความเป็นผู้นำ หรือความเปล่าเปลี่ยว  ( Intimacy VS Isolation ) ช่วงอายุ  19-40 ปี  เป็นวัยที่เปลี่ยนไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ต้องการเป็นผู้นำ  ต้องการติดต่อและสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ  จนเป็นเพื่อนสนิทและหรือเป็นคู่ชีวิต  ยอมที่จะเป็นผู้นำในบางขณะ  ถ้าผิดหวังจะแยกตนเองออกจากสังคม  หรืออยู่ตามลำพัง  ในวัยนี้จะมีเพื่อนรัก  เพื่อนร่วมงาน  และเพื่อนสนิทเป็นจำนวนมาก               
                ขั้นที่ 7  ความเสียสละ หรือความเห็นแก่ตัว  ( Generativity VS Self Absorbtion ) ในช่วงวัยกลางคน
เป็นวัยที่มีความรับผิดชอบในการเป็นบิดามารดาให้กำเนิดบุตร  ให้การอบรมเลี้ยงดู  ให้การศึกษา  ให้ความรักและความเอาใจใส่เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่สมาชิกใหม่ทุกคน  ถ้าพบกับความล้มเหลวในชีวิต  เขาจะเป็นบิดามารดาที่ดีไม่ได้               

ขั้นที่ 8   การสร้างความมั่นคงของชีวิต หรือความสิ้นหวัง ( Integrity VS Despair )   ตั้งแต่ 61 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่ต้องการความมั่นคงสมบูรณ์ในชีวิต  จะภาคภูมิใจในความสำเร็จแห่งชีวิตและผลงานของตน  ถ้าผิดหวังจะเกิดความรู้สึกล้มเหลวในชีวิต  ซึ่งอาจนำไปสู่ความเป็นโรคจิตในวัยเสื่อมได้ 


อ้างอิง  :  
อีริค อีริคสัน (Erik Erickson).(ออนไลน์).สืบค้นจาก :  http://ece.pkru.ac.th/early/web_std/Untitled-17.html  (Jan 28, 2016)

ร่อฮาณี เหร็มล่า.ทฤษฎีพัฒนาการทางสังคมของอิริคสัน.(ออนไลน์).สืบค้นจาก :  https://www.l3nr.org/posts/223800 (Jan 28, 2016)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น